ผู้เขียน หัวข้อ: เคล็ดลับ 10 ประการ ป้องกันการเกิดโรคไต  (อ่าน 108 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 308
    • ดูรายละเอียด
คนไทยป่วยเป็นโรคไตสูงเป็นอันดับ 3 ในอาซียน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการใช้ยาไม่สมหตุสมผล หรือกินยาไม่ถูกวิธี โดยฉพาะผู้ใช้ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เป็นเวลานาน ยาฆ่าเชื้อบางชนิด รวมทั้งสารสกัดสมุนไพร อาหารเสริม และการซื้อยากินเอง เป็นเหตุให้ไตวาย และถึงขั้นเสียชีวิตได้

1. หมั่นสนใจสุขภาพของตนเอง และไปรับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี

2. เลือกอาหารที่มีคุณค่า สุกสะอาด และมีประโยชน์ หลีกเลียงอหารไขมันสูง อาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป และอาหารรสจัด

3. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร หรือ 6-8 แก้วต่อวัน

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

6. พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน

7. หลีกเลี่ยงสารเสพติด

8. หลีกลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ

9. หลีกเลี่ยงกลุ่มยาที่อาจมีผลต่อไต เช่น ยาแห้ปวดซ้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมักเป็นยาในกลุ่ม “เอ็นเสด (NSAIDs)” ที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบอย่างแรง

10. อย่าหลงเชื่อโฆษณาอาหารเสริมหรือสมุนไพรที่กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง

ปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดรักษาโรคไตรื้อรั้งให้หายขาดได้ ปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาที่โฆษณาสรรพคุณเกินจริง ศึกษาข้อมูลพิมเติมได้จาก youtbe ” รู้ทันโรคไตกับคิดดี “



กินยาอย่างไร ไตไม่พัง? (Medication safety for kidneys)

ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยต่อไต

ไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการขจัดของเสียและสารต่างๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมถึงยาหรือสารต่างๆ ออกไปในรูปปัสสาวะ ดังนั้น ไตจึงมีความเสี่ยงสูงในการได้รับอันตรายจากพิษของยาและสารเคมีบางอย่างได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่องแต่เดิมอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยามากขึ้น

ควรใช้ยาอย่างไรไม่เป็นพิษต่อไต?

1. ใช้ยาตามข้อบ่งชี้ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน เพราะยาบางกลุ่มมีกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกัน ซึ่งการรับประทานร่วมกันไม่ช่วยเพิ่มผลในการรักษา แต่กลับเพิ่มผลเสียต่อผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นต้น

3. นำยาที่ใช้ประจำติดตัวมาโรงพยาบาลทุกครั้งเมื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้ประจำทุกครั้ง เพื่อประกอบการพิจารณาการรักษาของแพทย์


ยาที่ควรระวัง

1. ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)

ยาในกลุ่มนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดหลัง ปวดกระดูก เช่น Diclofenac, Ibuprofen, Mefenamic Acid, Piroxicam, Celecoxib, และ Etoricoxib เป็นต้น โดยกลุ่มยานี้จะยับยั้งการสร้างสาร  โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งสารนี้มีหน้าที่ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไตให้เป็นปกติ หากใช้ยากลุ่มนี้เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อการไหลเวียนเลือดในไตและส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

2. ยาลูกกลอน สารโลหะหนัก และสเตียรอยด์

ยาแผนโบราณเป็นการนำพืชสมุนไพรมาผสมกันในสัดส่วนที่พอเหมาะแล้วต้มในหม้อดิน อาจเรียกในชื่อต่างๆ เช่น ยาหม้อ ยาสมุนไพร ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของยาในลักษณะยาลูกกลอน ยาผง ยาอัดเม็ด หรือบรรจุแคปซูล พบว่าในส่วนประกอบของยาลูกกลอน นอกจากพืชสมุนไพรแล้วผลิตภัณฑ์บางชนิดพบการเจือปนของสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ทองแดง ปรอท และสารจำพวกสเตียรอยด์เจือปนมากกว่าครึ่งหนึ่งของยาลูกกลอนที่จำหน่ายในท้องตลาด สารเหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะเกิดการสะสมในร่างกายและมีพิษโดยตรงในการทำลายเนื้อเยื่อไต และก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้

3. ยาปฏิชีวนะบางชนิด หรือยาฆ่าเชื้อ

การใช้ยาเหล่านี้หากไม่ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่น ดื่มน้ำตามเยอะๆ หลังรับประทานยา อาจทำให้ยาเกิดการตกตะกอนและเป็นผลึกในท่อปัสสาวะได้ เช่น กลุ่มซัลฟา เป็นต้น


กลุ่มยาที่มักจะนำมาใช้ในการรักษาโรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง สามารถรักษาได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งประกอบไปด้วย

    ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบางรายอาจพบระดับฟอสเฟตในเลือดในปริมาณสูงกว่าปกติ แพทย์อาจพิจารณาสั่งยาลดระดับฟอสเฟต เช่น Calcium carbonate, Calcium acetate, Aluminium hydroxide, Lantanum เป็นต้น กลุ่มยาเหล่านี้จะไปดักจับกับฟอสเฟตในอาหารส่งผลให้ปริมาณฟอสเฟตถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายลดลงและช่วยปรับระดับฟอสเฟตในเลือดให้เป็นปกติ
    ยาขับปัสสาวะ ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการบวม
    ยาลดความดันโลหิต ระดับความดันโลหิตที่เหมาะสมสามารถช่วยในการชะลอการเสื่อมของไต ดังนั้นแพทย์จะกำหนดค่าเป้าหมายของความดันโลหิตที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละท่านและมักจะพิจารณาเลือกใช้ยาลดความดันกลุ่ม ACE inhibitors หรือ ARBs หรือใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิตกลุ่มอื่นในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในค่าที่เหมาะสม ยกเว้นผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ยาเหล่านี้
    กลุ่มยาปรับสมดุลกรดด่างในเลือด เช่น Sodium bicarbonate เพื่อช่วยแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด
    กลุ่มยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

หากมีภาวะระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ควรควบคุมระดับคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอลให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเหมาะสมของแพทย์ต่อผู้ป่วยแต่ละราย

หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดสมองร่วมด้วย ควรควบคุมระดับคอเลสเตอรอลชนิดแอลดีแอลให้น้อยกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรหรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาความเหมาะสมของแพทย์ต่อผู้ป่วยแต่ละราย



เคล็ดลับ 10 ประการ ป้องกันการเกิดโรคไต อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/298

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google